วัดพนัญเชิง Watphananchoeng Ayutthaya


เที่ยววัดพนัญเชิง  ฟังคำเล่าขาน ตำนานเมืองอโยธยา: เพียงชั่วพริบตาจากกรุงเทพฯ เราก็มาถึงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยเริ่มตั้งหลักกันที่ วัดพนัญเชิง วัดเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าสร้างมา ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง  (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) ยังไม่ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขณะพื้นที่บริเวณ นี้ยังเป็นเมืองอโยธยาอยู่ ไม่น่าแปลกใจที่ภายในวัดเนืองแน่นด้วยนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะเรื่องที่เล่าขานสืบต่อกันมาถึงที่มาของวัดนี้มี เสน่ห์ตรึงใจทุกคนที่ได้ฟังจนอยากมาเห็นด้วยตาตนเองสักครั้ง

หากจะบอกเล่าเรื่องนี้ตามขนบนิทานก็คงจะเล่าได้ว่า…”กาลครั้งหนึ่งนาน มาแล้ว พระเจ้ากรุงจีนต้องการสานสัมพันธ์กับเมืองอโยธยาจึงส่งลูกสาวคือพระ นางสร้อยดอกหมากมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์แห่งอโยธยา   เมื่อเสด็จมาถึงพระนางได้ทำเชิงให้พระเจ้าสายน้ำผึ้งออกมาต้อนรับอย่างสมพระ เกียรติ แต่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่ออกมาด้วยพระองค์เอง พระนางน้อยใจจึงกลั้น ใจตายอยู่ในเรือพระที่นั่ง บริเวณนี้จึงมีชื่อว่าพระนางทำเชิงหรือพระนาง หยั่งเชิง และเพี้ยนเป็นพนัญเชิงในเวลาต่อมา” ตำนานนี้จบอย่างไม่สมหวังแต่ก็ตราตรึงใจผู้คนทุกยุคทุกสมัย ในวัดพนัญเชิง จึงมีศาลเจ้าแม่จู๊แซเนียหรือตำหนักพระนางสร้อยดอกหมาก ตั้งเด่นเป็นสง่าให้ชาวบ้านได้สักการะ
ในตำหนักประดิษฐานรูปหล่อพระนางสร้อยดอกหมากองค์เล็กเท่าของเล่นเด็ก   ทุกปีโดยเฉพาะช่วงตรุษจีนและงานเทศกาลประจำปี ชาวจีนจำนวนมากจะพากันมาถวาย ผ้าแพรสีสันสดสวยแด่เจ้าแม่ไม่เพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา สิ่งที่ดึงดูด ให้ใครต่อใครมาวัดนี้ยังมีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศ พระพุทธรูปองค์นี้มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่ บ้านคู่เมือง  หนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า ช่วงก่อนเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้น หลวงพ่อโตมีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง เป็น ลางบอกเหตุว่าอยุธยาจะล่มสลายกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะหลวงพ่อโตทั้งองค์ พร้อมถวายพระนามอีก พระนามหนึ่งว่า ”พระพุทธไตรรัตนายก” มีหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร สูง 19 เมตร พระพักตร์เหลี่ยมอย่างศิลปะอู่ทอง  ในแต่ละปีเมื่อมีงานประเพณี นมัสการหลวงพ่อโต ทั้งชาวไทยและชาวจีนก็มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ครั้งอดีตทุกคนต่างรอคอยประเพณีนี้ ด้วยเป็นช่วงที่ตรงกับหน้าน้ำ นอกจาก จะได้เฉลิมฉลองตามประเพณีแล้ว ยังเป็นโอกาสพายเรือเล่นน้ำร่วมกันของชาวบ้าน ด้วยก่อนออกจากวัดพนัญเชิง เราเข้าไปภายในโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระทอง  พระปูน และพระนาก พระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสามองค์ พระพุทธรูปองค์ซ้ายสุดเป็นพระพุทธรูปทองคำเก่าแก่สมัยสุโขทัย องค์กลางเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา และองค์ขวาเป็นพระพุทธรูปนากสมัยสุโขทัย  เรา กราบสักการะพระพุทธรูปเก่าแก่ทั้งสามองค์ ชมจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม รำลึก ถึงตำนานที่ทำให้วัดแห่งนี้ยังเป็นที่น่าหลงใหล ก่อนลาจากไปยังสถานที่ต่อไป เพื่อชมความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาผ่านโบราณสถานแห่งใหม่
Share on Google Plus
    Blogger Comment
    Facebook Comment